• สิทธิประโยชน์ประกันสังคมมาตรา40
    บทความยอดนิยม

    สิทธิประโยชน์ กรณีสมัครประกันสังคมมาตรา40 www.sso.go.th


    สมัครแล้วได้อะไร คุ้มครองอะไรบ้าง chompupro สรุปให้ค่ะ

    สิทธิประโยชน์ ของสมัคร ประกันสังคมมาตรา40 แบ่งได้หลักๆ 5 ข้อ ดังนี้

    1. ชดเชยรายได้ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนการขาดรายได้
      • กรณีผู้ป่วยนอก ไม่นอนโรงพยาบาลและมีใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป รับเงินชดเชยรายได้วันละ 200 บาท
      • กรณีผู้ป่วยในหรือนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล  1 วันขึ้นไป รับเงินชดเชยรายได้วันละ 300 บาท
    2. รับเงินชดเชยกรณีทุพพลภาพ ขาดรายได้ โดยจะได้รับเงินชดเชย การขาดรายได้เป็นระยะเวลา 15 ปี จำนวน 500 ถึง 1,000 บาท ขึ้นอยู่กับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน และในกรณี เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ จะได้รับเงินช่วยค่าทำศพ จำนวน 25,000 บาท
    3. กรณีเสียชีวิตจะได้รับเงินค่าทำศพ จำนวน 20,000 บาท และหากจ่ายเงินสมทบครบ 5 ปี ก่อนเสียชีวิตจะได้รับเพิ่มอีก 8,000 บาท
    4. กรณีชราภาพจะได้รับเงินก้อนพร้อมดอกเบี้ย โดยจะได้รับ เฉพาะผู้ที่เลือกแผน 2 และแผน3 โดยเงินที่เพื่อนๆได้จ่ายไป 100 บาทต่อเดือน ทางประกันสังคมจะเก็บไว้เป็นเงินออมให้ 50 บาท ส่วนแผนที่ 3 ที่จ่ายเดือนละ 300 บาท ทางประกันสังคมจะเก็บเป็นเงินออมให้ 150 บาทประกันสังคมจะเก็บไว้ให้เดือนละ 150 บาท โดยเมื่ออายุครบ 60 ปีก็จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเป็นเงินก้อนที่สะสมไว้
    5. จะได้รับเงินช่วยเหลือ สงเคราะห์บุตร โดยสิทธิประโยชน์นี้จากคุ้มครองผู้ที่เลือกแผนที่ 3 โดยจะสงเคราะห์ตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 6 ขวบ เดือนละ 200 บาท ไม่เกิน 2 คน

    สิทธิประโยชน์ดังกล่าว ถ้าเพื่อนๆมีข้อสงสัยหรือมีคำถามสามารถสอบถามเข้ามาได้เลย หรือโทรสอบถามโดยตรงที่ สายด่วนประกันสังคม 1506 ค่ะ


  • สมัครประกันสังคม มาตรา40
    บทความยอดนิยม

    สมัครประกันสังคมมาตรา 40


    www.sso.go.th ลงทะเบียนประกันสังคม มาตรา40 ง่าย ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์และเคาน์เตอร์เซอร์วิส

    สำนักงานประกันสังคม ชี้ช่องทางสมัครขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้หลายช่องทาง ได้สิทธิความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ถึง 3 ทางเลือก

    ลงทะเบียนประกันสังคม มาตรา40

    สำหรับผู้ที่สนใจ สมัครประกันสังคมมาตรา 40 สามารถไปใช้บริการสมัครผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส (7-11) เคาน์เตอร์ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เคาน์เตอร์บิ๊กซี (Big C) หรือสมัครผ่านผู้แทนเครือข่ายประกันสังคม หรือสมัครด้วยตนเอง ที่ www.sso.go.th เพียงใช้บัตรประชาชนใบเดียว พร้อมจ่ายเงินสมทบได้ทันที ทุกช่องทางการสมัคร และชำระเงิน ไม่เสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด

    ความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์

    ประกันสังคมปัจจุบันมี 3 ทางเลือก คือ
    ทางเลือก 1 จ่ายเดือนละ 70 บาท (ลดเหลือ 42บาท) คุ้มครองเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต

    ทางเลือก 2 จ่ายเดือนละ 100 บาท (ลดเหลือ 60บาท) คุ้มครองเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ

    ทางเลือก 3 จ่ายเดือนละ 300 บาท (ลดเหลือ 180บาท) คุ้มครองเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ สงเคราะห์บุตร

    วิธีสมัครเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40

    ผู้ที่สนใจสมัครเป็น ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 สามารถสมัครง่าย ๆ ด้วยตนเองดังนี้

    1. ผ่านมือถือที่เว็บไซต์  https://www.sso.go.th/section40_regist
    2. ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส (7-11) 
    3. เคาน์เตอร์ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) 
    4. เคาน์เตอร์บิ๊กซี (Big C) 
    5. สมัครผ่านผู้แทนเครือข่ายประกันสังคม  หรือ  สายด่วนประกันสังคม 1506 กด 1

    คุณสมบัติผู้สมัครมาตรา 40


    1. มีสัญชาติไทย
    2. มีอายุ 15-65 ปีบริบรูณ์
    3. เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ
    4. ไม่เป็นลูกจ้างในบริษัท ห้างร้าน โรงงาน (ม.33)
    5. ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (ม.39)
    6. ไม่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ

    7. ผู้ถือบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ขึ้นต้นด้วย เลข 0,6,7 (ยกเว้นขึ้นต้นด้วย00)
    8. ผู้พิการที่รับรู้สิทธิก็สมัครได้

    ทั้งนี้ผู้ที่ประสงค์จะรับเงินเยียวยาจากรัฐบาล จะใช้วิธีการโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น 

     

    9 กิจการ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด 10 จังหวัด ที่จะได้รับการรเยียวยา ตามมติของ ครม. 

    1. ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร : โรงแรม, รีสอร์ต, เกสต์เฮาส์, ที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท, การบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร, การบริการด้านอาหารบนแผงลอยและตลาด, การบริการด้านการจัดเลี้ยง, การบริการด้านเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นหลักในร้าน

    2. การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า : การขนส่งผู้โดยสารทางรถโดยสารประจําทางระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดอื่น และระหว่างจังหวัด, การขนส่งผู้โดยสารโดยรถยนต์รับจ้าง/แท็กซี่/รถสามล้อเครื่อง จักรยานยนต์รับจ้าง, การขนส่งสินค้าแช่เย็นหรือแช่แข็งทางถนน, การขนส่งสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ทางถนน

    3. การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ : ห้างสรรพสินค้า, ซุปเปอร์เซ็นเตอร์, การขายปลีกสินค้าทั่วไป

    4. กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน : ธุรกิจจัดนําเที่ยว, กิจกรรมของมัคคุเทศก์, กิจกรรมการรักษาความปลอดภัย, การบริการทําความสะอาด, การจัดการประชุมและจัดการแสดงสินค้า (Event) 

    5. กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ : กิจกรรมของบริษัทโฆษณา, กิจกรรมการออกแบบและตกแต่งภายใน, การตรวจสอบบัญชี, การให้คําปรึกษาด้านภาษี

    6. ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร : กิจกรรมการผลิตภาพยนตร์และวีดิทัศน์, กิจกรรมการผลิตรายการโทรทัศน์, กิจกรรมด้านการจัดฉายภาพยนตร์

    7. การก่อสร้าง : การก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย, การก่อสร้างถนน, สะพานและอุโมงค์, การติดตั้งระบบประปาและระบายน้ำ

    8. กิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ : กิจกรรมสปา, กิจกรรมการแต่งผม, กิจกรรมการดูแลความงาม แต่งเล็บมือและเล็บเท้า, กิจกรรมเกี่ยวกับงานศพและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

    9. ศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ : การดําเนินงานของสถานที่ออกกําลังกาย, กิจกรรมด้านสโมสรกีฬา, กิจกรรมด้านสวนสนุกและธีมปาร์ค, กิจกรรมการแสดงโชว์เพื่อความบันเทิงและการนันทนาการ.

    10 จังหวัด พื้นที่ควบคุมสูงสุด มีที่ไหนบ้าง

    • กรุงเทพฯ
    • นครปฐม
    • นนทบุรี
    • ปทุมธานี
    • สมุทรปราการ
    • สมุทรสาคร
    • นราธิวาส
    • ปัตตานี
    • ยะลา
    • สงขลา

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน 1506 ให้บริการไม่เว้นวันหยุดราชการตลอด 24 ชั่วโมง

    สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติม www.chompupro.com